รถไฟไทย เมื่อประชาชนเป็นตัวประกัน
ดย วันชัย ตัน วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11432 มติชนรายวัน มีคนเคยบอกผู้เขียนว่า ข้อดีของรถไฟไทยที่สอบผ่านมีอยู่ประการเดียวคือ เกิดอุบัติเหตุน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับการเดินทางโดยรถยนต์ ส่วนข้ออื่นสอบตกหมด เมื่อ ไม่นานมานี้ผู้เขียนมีโอกาสขึ้นรถไฟไปหนองคาย มีนัดหมายสำคัญ ออกจากกรุงเทพฯประมาณหกโมงเย็นเศษๆ ตามหมายกำหนดการจะถึงหนองคายประมาณเจ็ดโมงกว่าของวันรุ่งขึ้น แต่เอาเข้าจริงรถไฟมาถึงหนองคายร่วมสิบโมง สายไปเกือบสามชั่วโมง ทำให้ผู้เขียนพลาดธุระครั้งสำคัญ แต่ไม่รู้ว่าจะไปเรียกร้องจากใคร เพราะการรถไฟไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ ไม่มีคู่แข่งที่จะคอยกดดันให้ต้องปรับปรุงบริการ แน่นอนว่าผู้โดยสาร ทุกคนต่างมีประสบการณ์ร่วมกัน ก้มหน้าก้มตายอมรับความจริง ไม่ปริปากบ่น หากเลือกได้คงจะหนีไปใช้รถโดยสาร รถยนต์ส่วนตัวกันหมดแล้ว การไม่ตรง เวลา ถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่าง ห้องน้ำเหม็น การบริการห่วยแตก มีหนู แมลงสาบวิ่งพล่านในตู้รถไฟ จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ประจานการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มาหลายสิบปีแล้ว ขณะที่ เมื่อ พ.ศ.2471 ไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียที่เปลี่ยนหัวรถจักรไอน้ำมาเป็นหัวรถจักรดีเซล ด้วยฝีมือบริหารของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงคนแรก ทำให้รถไฟไทยทันสมัยที่สุดในเอเชีย แทบ ไม่น่าเชื่อว่า…